วันที่ 4 มิถุนายน 2557

เรื่องจราจร การนอนหลับ และความมั่นใจของคนไทย

การจราจรเป็นตัวชี้วัดความเป็นมนุษย์ในวัฒนธรรมชาติต่างๆได้อย่างดี รวมทั้งวัฒนธรรมไทยด้วย

คนไทย และคนญี่ปุ่น เลิกบีบแตรขณะขับรถมากว่า 30 ปีแล้ว ในขณะที่ชาวเอเชียที่เหลือยึดเสียงแตรประหนึ่งการเต้นของหัวใจ ในประเทศไทย ผู้ขับขี่มักมองข้ามการแซงและตัดเข้าตัดออกโดยไม่คิดอะไรมาก นอกจากว่า “สงสัยเขาจะรีบไปไหนสักแห่ง ปล่อยเขาไปเถอะ”

ส่วนความใจร้อนและเร่งรีบของชาวตะวันตกอาจนับเป็นข้อได้เปรียบอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นข้อเสียสำหรับเขาด้วย เช่นวิธีการเจรจางานของชาวญี่ปุ่น ที่อาศัยกลยุทธความอดทนเป็นเลิศ และความเพียรพยายาม ซึ่งมักทำให้คู่เจรจาชาวตะวันตกสุญเสียความอดทน เสียฟอร์มนับเป็นตัวอย่างที่ดีทีเดียว

ช่วงฤดูฝนในประเทศไทย เวลาฝนตกหนักมักเกิดน้ำท่วมจนถนนกลายเป็นคูคลองก็บ่อย แต่ผู้ขับขี่ก็มักจะระวัง ไม่ให้น้ำกระเด็นใส่คนเดินเท้า ถือเป็นมารยาทและความเกรงใจอย่างหนึ่งที่จะระวังไม่ให้ผู้อื่นเปียกปอน ในขณะที่ตัวคุณนั่งแห้งสบายอยู่ในรถ


ปัญหาเรื่องที่จอดรถเป็นเรื่องปกติ และมักมีการจอดซ้อนสอง หรือบางครั้งก็ซ้อนสามคัน แต่คนที่จอดด้านในมักไม่เจอปัญหาออกไม่ได้ เพราะเจ้าของรถที่จอดซ้อนจะไม่ล๊อกเบรกไว้ เพื่อให้เข็นได้ สื่อถึงความมีน้ำใจ และเอื้ออาทรผู้อื่นในการขับขี่ ที่เน้นย้ำถึงความน้ำใจเยื่อใยต่อกันของคนไทย

ข้อสังเกตของผมอีกอย่างหนึ่งในเรื่องของการจราจรในเมืองไทยตลอด 60 ปีที่ผ่านมานี้ คือข้อสรุปที่ว่าชาวตะวันตกมีวิถีชีวิตที่เครียดมาก เขาจะรู้สึกกระทบกระเทีอนจากเสียง มีอาการนอนไม่หลับ วิ่งหาแสงแดดในเวลากลางวัน แต่พอตกกลางคืน ก็ทนแสงสว่างไม่ได้เอาเสียเลย ไม่เป็นอันหลับนอน`

ในเมืองไทยดูจะกลับกันไปเลย ผู้ขับขี่รถสาธารณะต่างๆ รวมทั้งผู้โดยสาร สามารถจอดรถข้างทางในช่วงหยุดพัก และหลับได้ทันที แม้จะอยู่จอดอยู่ติดตลาดสดที่พลุกพล่านก็ตาม

ผมชอบเดินเล่นตามท้องถนน และที่ผ่านมา ผมเคยเก็บภาพไว้มากมาย ที่นำมาประกอบเรื่องนี้ เป็นภาพคนนอนหลับในสิ่งแวดล้อม และด้วยอากัปกิริยาต่างๆที่ไม่น่าจะสบายเลย แม้แต่ภรรยาผม คือคุณเฮเลน และลูกๆ ก็นอนหลับได้ทุกที่ทุกเวลา ทั้งในรถ บนเก้าอี้ บนเตียง ไม่ว่าจะมีเสียงโทรทัศน์รบกวน เสียงเพลงดังสนั่น หรือมีความวุ่นวายพลุกพล่านรอบตัว ผมรู้สึกทึ่งมากในทักษะนี้ และพยายามเลียนแบบหลายครั้ง แต่ไม่เคยสำเร็จเลย

เพราะอะไรหรือครับ ผมก็ไม่มีคำตอบเหมือนกัน แต่ผมว่ามันคงเกิดจากจิตใจที่สุขสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน รู้จักปล่อยวางตามวิถีพุทธนั่นเอง

และการรู้จักปล่อยวางจากสิ่งรบกวนภายนอกนี้ ก็ทำให้ผมนึกถึงคุณสมบัติของคนไทยอีกอย่างที่ผมทึ่งเช่นกัน ทำไมคนไทยจึงมีความมั่นใจในตัวเองสูงนัก เขาดูจะสงบนิ่งภายใน ไม่สะทกสะท้าน ไม่กระวนกระวาย จิตตั้งแน่นิ่งอยู่กับสิ่งที่อยู่ต่อหน้าเท่านั้น

ตัวผมเองเป็นคนที่กดดันตัวเองตลอดเวลา ไขว่คว้าตลอดเวลา และผมว่าเป็นอาการของชาวตะวันตกส่วนใหญ่ ไม่มากก็น้อย

ชาวตะวันตกได้รับอิทธิพลจากความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ทำให้ต้องวางแผน เตรียมการ มองไปข้างหน้า เพื่อความอยู่รอด เราต้องเตรียมทั้งเสื้อผ้าและอาหาร สำหรับรองรับฤดูหนาว นับว่าฤดูกาลมีผลทำให้เราต้องวางแผนล่วงหน้าตลอดเวลา

คนไทยไม่เคยต้องเผชิญกับปัญหานี้เลย เขาอยู่ได้แบบวันต่อวัน ผมยังจำได้ว่าเคยเห็นบ้านริมคลอง ที่มีแหจับปลาขึงไว้หน้าบ้าน ถ่วงไว้ด้วยตะกั่ว พอถึงเวลาอาหาร ก็ทิ้งแหลงน้ำ สักพักก็ได้ปลาเป็นอาหารแล้ว

ชาวตะวันตกต้องวางแผนมากมาย แม้กระทั่งการดูข้างขึ้นข้างแรม เวลาจะไปตัดฟืน เพื่อจะได้ไม้ที่ไม่โดนแมลงกัดกิน และอยู่ได้ทนนาน

ผมว่าเมืองไทยก็คงมีกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาลเช่นกัน อย่างการสร้างบ้านใต้ถุนสูง เพื่อกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่ส่วนใหญ่แล้ว ก็มักเป็นกฏเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ

This need of planning and the marginal life we live in the West are certainly the reasons of our restlessness.

ส่วนสาเหตุอีกอย่างที่ผมเชื่อ คือเรื่องความสำนึกผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาสนายิวและศาสนาคริสต์เชื่อเป็นอย่างยิ่ง คือสำนึกผิดของมนุษยโลก สืบเนื่องจากบาปกำเนิดที่อาดัมก่อไว้จนโดนพระผู้เป็นเจ้าเนรเทศออกจากสวนอีเดน ถ้าใครเคยอ่านนวนิยายของฟิลิป รอธ จะเห็นถึงความสำนึกผิดที่หยั่งลึกในวิถีชีวิตชาวยิว ส่วนชาวคริสต์ก็ไม่ต่างกันนัก โดยเฉพาะชาวโปรเตสแตนท์ ที่ต้องรับทุกข์จากบาปกำเนิดตามทฤษฎีของนักบุญออกัสติน พฤติกรรมทางเศรษฐศาสตร์ของชาวโปรเตสแตนท์ตามที่มักซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาขาวเยอรมันที่มีชื่อในศตวรรษที่ 19 กล่าวไว้ในหนังสือ จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม ก็เน้นเรื่องความสำนึกผิดนี้ และนี่เป็นลักษณะที่โดดเด่นของชาวคริสต์ก็ว่าได้

ผมดูว่าชาวพุทธไม่ต้องเครียดกับความรู้สึกสำนึกผิดต่อบาปกำเนิด เพราะถือว่าทุกคนต้องรับผิดชอบความผิดหรือบาป และผลของบาป ที่แต่ละคนสร้างเอง ศาสนาพุทธยังสอนกฏเกณฑ์การอยู่ร่วมกันในสังคม แต่ระบบของศาสนาพุทธในประเทศไทยเป็นการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง โดยให้วัดในแต่ละชุมชนเป็นแกนกลางของชุมชนนั้นๆ ซึ่งตรงข้ามกับระบบของศาสนาคาธอลิก ที่มีพระสันตปาปาเป็นศูนย์กลางแต่อย่างเดียว

ผมเข้าใจว่ากำลังแตะประเด็นที่ละเอียดอ่อนอยู่ และผมไม่ควรพยายามวิเคราะห์ให้ลึกเกินไป ผมเพียงต้องการยกข้อแตกต่างบางประการที่ผมสังเกตเห็นเท่านั้น แต่ก็นั่นแหละ ยังไงผมก็เป็นคนเยอรมัน และนิสัยมันเปลี่ยนกันยาก...

(ภาพถ่ายในบล็อกนี้ได้รับการดําเนินการโดย Rolf ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาในประเทศไทย)

4 ความคิดเห็น

ความสามารถไทยที่จะนอนหลับได้ทุกที่เป็นสิ่งที่ฉันต้องการฉันสามารถเรียนรู้การใช้ชีวิตที่นี่ แต่มันเป็นที่น่าเศร้าพิสูจน์เกินฉัน! Insightful เช่นเคยและขอบคุณสําหรับ Rolf ภาพถ่ายของคุณ, นําเรายิ้ม:)

เดฟ มาร์เก็ทส์

เป็นไทยที่เติบโตขึ้นในต่างประเทศ, ผมคร่อมทั้งตะวันออกและตะวันตก, ซึ่งหมายความว่ามักจะวิธีการทําสิ่งที่ที่นี่ผ่านโดยฉันโดยไม่ต้องถามคําถามใด ๆ. แต่บล็อกของคุณทําให้ฉันหยุดและคิดว่า ..... และตอนนี้จะมีคําถามที่ถาม!

นภาลัย

สังเกตได้ดี นอกจากนี้บางคําสั่งที่สําคัญ

1.ศาสนาหนังสือ
2.มากกว่าการวางแผน
3.วันอยู่โดยวันของของของของของ

รักบล็อกนี้ ....

ยืนยันหลักการของชีวิตของฉัน....

การแสวงหาความงามด้วยความรักและความรักในสถานะของความสุข!!!!!

ขอบคุณ🙏🙏🙏

คูมาร์ วิเรนดรา

รักบทความและภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจ:)

ณัฐ

แสดงความคิดเห็น

โปรดทราบว่าความคิดเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะเผยแพร่