วันที่ 19มิ.ย.

ช่วงเวลาดีๆ กับอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี

อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ถือได้ว่าเป็นอัจฉริยะเทียบเท่ากับเลโอนาร์โด ดา วินชี ก็ว่าได้ ทำไมเด็กคนหนึ่งจากภาคเหนือของประเทศไทยจึงได้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการศิลปะขนาดนั้นได้ ถ้าจะมานั่งวิเคราะห์ยืดยาว หรือตั้งทฤษฎึต่างๆ ว่าทำไม ที่ไหน ยังไง ก็จะเสียเวลาเปล่า เพียงแค่ยอมรับว่าอาจารย์เป็นเพชรเม็ดงามก็พอแล้ว

รอล์ฟ วอน บิวเรน กับอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของไทย และตัวแทนระดับแนวหน้าแห่งวงการศิลปะ ทั้งไทยและเอเชีย อาจารย์ถวัลย์สร้างผลงานภาพฝาผนังไว้หลายแห่ง ทั้งสถานทูตไทยในต่างแดน บ้าน และปราสาท ในปีพ.ศ. 2541 อาจารย์ได้ออกแบบตุงทองคำ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ นอกจากนี้ อาจารย์ถวัลย์ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนศิลปินไทยและเอเชียในงานต่างๆ ทั่วโลกหลายครั้งหลายครา

อาจารย์ถวัลย์ในยุคต้นของชีวิตศิลปิน

ภาพวาดม้า และภาพแสดงปรัชญาธรรม

เชื่อว่าอาจารย์วาดภาพเหมือนตัวเองเพียงเท่านี้

เปรียบเทียบภาพลายเส้นของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี กับเลโอนาร์โด ดา วินชี

ภาพวาดมือของเลโอนาร์โด ดา วินชี (ซ้าย) กับของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี (ขวา)

ภาพลายเส้นรูปม้าของเลโอนาร์โด ดา วินชี (ซ้าย) กับของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี (ขวา)

ภาพลายเส้นหน้าคนของเลโอนาร์โด ดา วินชี (ซ้าย) กับของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี (ขวาและล่าง)

ภาพลายเส้นเท้าของเลโอนาร์โด ดา วินชี (ซ้าย) กับของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี (ขวา)

อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี เป็นศิลปินที่ยึดมั่นและจดจ่อกับงานศิลปะของตนเองเป็นหลักในชีวิต อาจารย์มั่นใจในความสำเร็จของชิ้นงาน และมั่นใจอย่างยิ่งว่างานสร้างสรรค์ต่างๆ จะเป็นที่ยอมรับ อาจารย์รู้จุดแข็งจุดเด่นของตนอย่างดี และไม่เคยละเลยที่จะสร้างกระแสให้กับผลงานตนเอง เป้าหมายในชีวิตของอาจารย์ จุดมุ่งหมายในชีวิตของอาจารย์ คือการทำให้ประชาชนยอมรับและชื่นชมผลงานของตน พรสวรรค์ ความสามารถในการสร้างสรรค์งานของตน และเป็นงานที่เลอเลิศ ไม่เหมือนใครจริงๆ ฟังดูอาจจะแรงเหมือนโม้ แต่อาจารย์ถวัลย์เป็นผู้ที่มีบุคคลิกโดดเด่น และยิ่งใหญ่มากจริงๆ

อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ที่พิพิธภัณฑ์บ้านดำ บ้านพักที่เชียงราย ซึ่งเป็นทั้งพิพิธภัณฑ์และสตูดิโอวาดภาพ และในปีพ.ศ. 2544 อาจารย์ยังเปิดหอศิลป์ถวัลย์ ดัชนี ที่ตึกยูคอม กรุงเทพฯ อาจารย์ถวัลย์ได้รับรางวัลเกียรติยศเหรียญทองจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในฐานะจิตรกรผู้สร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย และได้เป็รศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ปี 2544

ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน พ.ศ. 2529 และ 2539

ท่องเที่ยวธิเบต พ.ศ. 2528

อาจารย์ถวัลย์เป็นบุคคลที่ทรงพลังและราศี ซึ่งปรากฏเห็นได้ชัดเมือเดินทางไปธิเบตในยุคทศวรรษที่ 1980 เมื่อธิเบตเพิ่งผ่านการปฏิวัติวัฒนธรรม แต่ก็ยังคงความเป็นธิเบตแบบดั้งเดิม (เมื่อเทียบกับปัจจุบัน) เวลาอาจารย์ไปไหน จะมีคนคอยเดินตาม เพื่อขอพร ไม่มีใครรู้สาเหตุ ว่ามันเป็นไปเพราะอะไร แต่แน่นอน อาจารย์มีประกายแห่งราศีบางอย่างที่ดึงดูดฝูงชน ส่วนตัวอาจารย์เอง ก็ประทับใจในพุทธศาสนานิกายมหายานของธิเบตอย่างลุ่มหลงเลยก็ว่าได้ ทั้งในเรื่องจิตวิญญาณและพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งอาจารย์ก็ได้กลับมาศึกษาและวิเคราะห์อย่างละเอียด และดึงเอาสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์สำหรับตน นำมาปรับใช้ในงานศิลป์อย่างลงตัว

 

อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ท่องเที่ยวธิเบตกับคุณรอล์ฟและเพื่อนฝูง ในปีพ.ศ. 2528

เนปาลทริปปี 1996

และศรี วอน บิวเรน กับอาจารย์ถวัลย์และเพื่อนๆตอนไปเนปาล

ท่องเทียวกัมพูชาในทศวรรษที่ 1980

อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ท่องเที่ยวปราสารนครวัด กัมพูชา ในช่วงทศวรรษที่ 1980

อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ไม่คิดมากกับการแหวกกฎเกณฑ์แห่งงานศิลป์ทั้งหลาย หากคิดว่ามันจะช่วยส่งเสริมให้งานของตนมุ่งไปข้างหน้า เพื่ออวดสู่สายตาของชาวโลก

ความสามารถที่จะตั้งมั่นและจดจ่ออย่ามีสมาธิแรงกล้า ที่จะกลับเข้าสู่วิถีและเป้าหมายของตน นับเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอาจารย์ เขาต้องพบปะเจรจางานกับบุคคลต่างๆ อาทิ สถาบันเกอเธ่ สถาบันฝรั่งเศส นักสะสมภาพมีระดับ ทูตานุทูต เจ้าชายและเจ้านายในราชวงศ์ประเทศต่างๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เขาก็มุ่งมั่น ณ จุดๆ เดียว คืองานของตนเอง

ผมพูดประเด็นนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ผมมองว่าจุดนี้คือแรงจูงใจหลักของยอดศิลปินท่านนี้ นอกเหนือจากนั้น ผมมองว่าท่านเป็นเพื่อนที่จงรักภักดี และเป็นผู้ที่มีความอยากรู้อยากเห็นสูง ท่านเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ แต่ตลอดชีวิตของท่าน เป้าหมายอย่างเดียวที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ “งานศิลป์ของถวัลย์ ดัชนี” เท่านั้น

ท่านเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ แต่ตลอดชีวิตของท่าน มีน้อยคนที่รับรู้จุดนี้ คนหนึ่งคือคุณบุญชัย เบญจรงคกุล ผู้ซึ่งเป็นอัจฉริยะเช่นกัน และเพื่อนของผมคนหนึ่ง คือ เคานต์ เฮอร์มาน ฮัทซ์เฟลด์ ที่เชิญอาจารย์ไปวาดภาพฝาผนังห้องที่ปราสามครอททอร์ฟ ที่ประเทศเยอรมันี ซึ่งผมมองว่าทั้งสองท่านนี้ ก็เป็นอัจฉริยะที่มองทะลุถึงความอัจฉริยะของผู้อื่น แน่นอนที่มีคนอื่นที่มองเห็นถึงความอัจฉริยะของอ.ถวัลย์ แต่สองท่านนี้นับเป็นผู้อุปถัมภ์อาจารย์เป็นหลัก ซึ่งทุกคนก็รู้ซึ้งอยู่ว่างานศิลปะต้องมีผู้อุปถัมภ์ จึงจะอยู่รอด

ปราสาทครอททอร์ฟ ประเทศเยอรมันี

งานที่ได้รับมอบหมายชิ้นใหญ่ที่สุดในต่างประเทศ คงไม่พ้นงานวาดภาพฝาผนังที่ปราสาทครอททอร์ฟ ประเทศเยอรมันี ในปีพ.ศ. 2520 ซึ่งใช้เวลารรวม 5 เดือนกว่าจะแล้วเสร็จ

ห้องปฏิบัติธรรม แสดงภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์ และรูปสามเหลี่ยมที่สื่อถึงธาตุทั้งสี่ ฝีมืออาจารย์ถวัลย์ ดัชนี

ผมเขียนเรื่องนี้ในช่วงกักตัวโควิด 19 ผมยังเห็นภาพอาจารย์นั่งที่โซฟาบ้านผม และหัวเราะร่าเริง ความสัมพันธ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งระหว่างเราคือการที่ผมทำให้ท่านหัวเราะ ผมเองก็รู้สึกทึ่งในสายตาของท่าน วิธีมองโลกของเราทั้งสอง แต่เวลามองสิ่งเดียวกันนั้น ทำไมท่านถึงได้เห็นอะไรมากกว่าผมมาก

เพื่อนรักของผมอีกคน โรมัน โปลันสกี้ เป็นผู้ที่เล่ามุกตลกได้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งแห่งศตวรรษก็ว่าได้ ผมชอบเอามุกตลกเหล่านี้ มาเล่าต่อให้อาจารย์ฟัง ท่านชอบมาก อาจารย์นับเป็นคนที่หมกมุ่นอยู่กับงาน แต่การหัวเราะเป็นสิ่งที่ทำให้ท่านได้หลุดออกจากความหมกมุ่น ท่านชอบฟังมุกตลกของผม และมักจะแปลเป็นมุกไทยได้ทันที อาหารนับเป็นความชอบร่วมของเราอีกอย่างหนึ่ง รวมทั้งความชื่นชมสิ่งสวยงามในชีวิต เวลาเราไปซื้อของด้วยกัน เพียงมองตากันก็รู้ใจกันแล้ว ว่าจะซื้อของชิ้นไหนดี ผมก็ยังซื้อหนังสือทางด้านศิลปะให้ท่านหลายเล่ม ตามที่ท่านสั่งมา

ผมยอมรับว่า ชีวิตที่ขาดอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี มันช่างเปลี่ยนไปมากมาย บุคคลิกของท่านมันช่างยิ่งใหญ่ มีพลังมหาศาล และสำหรับผมแล้ว เป็นผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจอย่างยิ่งด้วย

แสดงความคิดเห็น

โปรดทราบว่าความคิดเห็นจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะเผยแพร่